การจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทฯ ควบคุมผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมการผลิตและกิจกรรมอื่นๆ ขององค์กร จึงมุ่งเน้นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการการเลือกใช้ทรัพยากรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองมาตรฐาน การคำนึงถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life cycle of product) รวมไปถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร นอกจากนี้ “ความยั่งยืน” เป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัทฯ เพราะการดำเนินงานที่ไม่มุ้งเน้นความสำคัญในการสร้างคุณค่าต่อปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมย่อมมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสามารถในการสร้างผลกำไร และการแข่งขันของบริษัทฯ บริษัทฯจึงได้มีการบูรณาการความเสี่ยงด้าน ESG เข้าไปอยู่ในปัจจัยที่คำนึงถึงการกำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ และการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยลักษณะความเสี่ยงในมิติ ESG หมายถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมมาภิบาล อันเนื่องจากการดำเนินการขององค์กรที่เกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร จึงเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบที่คาดเดาได้ยาก บริษัทฯจึงให้ความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และปรับตัวรับความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจที่อาจเกิดจากความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมากจากความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงในด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงาน จึงมีการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อดำเนินการกำหนดมาตรการและแนวทางในการป้องกันในการลดผลกระทบจากประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว รวมถึงเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจในระยาว ดังนี้
ประเด็นความเสี่ยงจาก Climate Change
- นโยบายและกฎหมาย และ ภาษีคาร์บอน
- ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมในการดำเนินธุรกิจ
- ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ความมั่นคงในการจัดหา/ส่งมอบวัตถุดิบ
- ปัญหาการขาดแคลนน้ำ/ประสบอุทกภัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
ผลกระทบต่อบริษัท | มาตรการป้องกันและจัดการความเสี่ยง |
---|---|
1) ความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังอาจเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้มากยิ่งขึ้น |
โครงการกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฐานวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets Initiative) โดยมีการตั้งเป้าหมายในการลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ (Carbon Intensity) ร้อยละ 25.2 เทียบกับปีฐาน 2561 ภายในปี 2567 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลด CO2 ให้อยู่ในระดับที่รักษา การเพิ่มอุณหภูมิ ของโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับ อุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม |
2) การบริหารจัดการทรัพยากร - ต้นทุนการใช้เม็ดพลาสติกสูงขึ้น - แนวโน้มการใช้งานพลาสติกลดลงจากกระแสการให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม |
- Plastic Recycle |
3) การบริหารจัดการพลังงาน - พลังงานฟอสซิลที่มีอย่างจำกัด |
- Solar Rooftop - Smart Boiler/ Biomass Burner |
4) การบริหารจัดการน้ำ - ทรัพยากรน้ำมีจำกัดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Water Crisis) |
- Water Footprint - Recycle RO Reject Water |
5) การบริหารจัดการของเสียและมลพิษ - ต้นทุนการกำจัดและบำบัดสูง |
- Recovery Drag-out Etching |